1.เรียนมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยดียังไง

มหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยดียังไง พร้อมแนะนำหลักสูตรนานาชาติคืออะไร

การศึกษาในระดับอุดมศึกษามีหลากหลายทางเลือก และหนึ่งในนั้นคือการเรียนในมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในประเทศไทย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในบทความนี้ Stamford International University จะพาน้อง ๆ มาแนะนำว่า มหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยดียังไง? มีหลักสูตรอะไรให้เลือกบ้าง? แล้วต้องใช้คะแนนอะไรในการสอบเข้า? พร้อมพาไปทำความรู้จัก Stamford International University ให้มากขึ้น ใครกำลังมองหามหาลัยอินเตอร์ในไทยเพื่อเรียนต่อต้องห้ามพลาด

ทำความรู้จัก มหาวิทยาลัยอินเตอร์ Stamford International University

Stamford International University เป็นมหาวิทยาลัยอินเตอร์ที่ได้มาตรฐานคุณภาพ และได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก International Accreditation Council for Business Education (IACBE) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านความเป็นเลิศทางการศึกษาด้านธุรกิจ 

การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดจะช่วยให้น้อง ๆ เรียนจบเร็วกว่า ด้วยหลักสูตร Fast track 3.5 ปี โดยน้อง ๆ จะได้เรียนรู้จากคณาจารย์ผู้สอนที่มากด้วยประสบการณ์ในหลายสาขาอาชีพจากนานาชาติ ทำให้น้อง ๆ ได้นับมุมมองที่หลากหลายและทันสมัย รวมถึงได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีโครงการฝึกงาน 480 ชั่วโมงกับบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังได้โอกาสในการเรียนแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

แนะนำหลักสูตรน่าเรียนที่ Stamford International University

ที่แสตมฟอร์ดมีหลักสูตรน่าเรียนให้เลือกถึง 4 หลักสูตร โดยแต่ละหลักสูตรก็มีสาขาให้เลือกมากมาย ดังนี้

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (Business Administration)

  • สาขาการเงินและการธนาคาร (Finance and Banking)
  • สาขาการตลาด (Marketing)
  • สาขาการเป็นเจ้าของธุรกิจ (Entrepreneurship)
  • สาขาการการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management)
  • สาขาการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations)
  • สาขาการจัดการธุรกิจการบิน (Airline Business Management)
  • สาขาการจัดการธุรกิจโรงแรมนานาชาติ (International Hotel Management)
  • สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics and Supply Chain Management)

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (Communication Arts) ตัวคณะหลัก

  • สาขาการผลิตสื่อสร้างสรรค์และบันเทิง (Creative Media Production and Entertainment)
  • สาขาการสื่อสารการตลาดดิจิทัลและโฆษณา (Advertising and Digital Marketing Communication)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (Arts)

  • สาขาออกแบบสื่อสร้างสรรค์ (Creative Media Design)
  • สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (English for Applied Global Communication)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Sciences)

  • สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
6.อยากสมัครเรียนที่แสตมฟอร์ดต้องเตรียมตัวยังไง

เรียนมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยดียังไง?

การเรียนในมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในประเทศไทยมีข้อดีหลายประการที่น่าสนใจ ประการแรก คือโอกาสในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น เนื่องจากการเรียนการสอนทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันและในบริบททางวิชาการ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยอินเตอร์ยังมีบรรยากาศการเรียนที่เป็นนานาชาติ นักศึกษาจะได้เรียนรู้และทำงานร่วมกับเพื่อนและอาจารย์จากหลากหลายประเทศ ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น

ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ หลักสูตรของมหาวิทยาลัยอินเตอร์มักได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ และมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ทำให้นักศึกษามีโอกาสไปแลกเปลี่ยนหรือศึกษาต่อในต่างประเทศได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ การเรียนในมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยยังประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการไปเรียนต่างประเทศโดยตรง ทั้งค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพ แต่ยังได้รับประสบการณ์การเรียนแบบนานาชาติเช่นเดียวกัน

2.มหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทย มีหลักสูตรอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยเอกชนดียังไง? ทำไมถึงเป็นตัวเลือกที่หลายคนสนใจ?

มหาวิทยาลัยเอกชนกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่นักเรียนที่กำลังมองหาทางเลือกในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้วยข้อดีหลายประการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน

สามารถใช้วุฒิที่หลากหลายในการยื่นสมัครได้

มหาวิทยาลัยเอกชนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกระดับการศึกษา ไม่ว่าจะวุฒิ ม.6, GED หรือ IGCSE สามารถสมัครเรียนได้ในเกือบทุกคณะ ทำให้ผู้เรียนมีทางเลือกมากขึ้นในการศึกษาต่อ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยพื้นฐานการศึกษาเดิม

หลักสูตรยืดหยุ่น เร็วและทันสมัย ทำให้มีความสามารถตามยุคสมัยและเน้นใช้งานได้จริง

มหาวิทยาลัยเอกชนมักมีความคล่องตัวในการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและตอบโจทย์ตลาดแรงงาน หลักสูตรมีความยืดหยุ่น เน้นการเรียนรู้ที่ใช้งานได้จริง และมักจะปรับตัวได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยของรัฐ

อุปกรณ์การเรียนและเครื่องมือทันสมัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

มหาวิทยาลัยเอกชนมักลงทุนในอุปกรณ์การเรียนและเครื่องมือที่ทันสมัย รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักศึกษาและสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการฝึกปฏิบัติ

มีอาจารย์พิเศษและตัวจริงจากแต่ละวงการที่มีประสบการณ์ตรง มาสอนให้แบบใกล้ชิด

มหาวิทยาลัยเอกชนมักเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ตรงจากวงการต่าง ๆ มาเป็นอาจารย์พิเศษ ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริงและได้รับมุมมองที่หลากหลายจากวงการนั้น ๆ

Connection มากมาย ที่จะ Support ทั้งการฝึกงานและการทำงานในอนาคต

มหาวิทยาลัยเอกชนมักมีเครือข่ายความร่วมมือกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับนักศึกษาในการหาที่ฝึกงานและโอกาสในการทำงานในอนาคต Connection เหล่านี้ช่วยเปิดประตูสู่โลกการทำงานจริงได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ที่มีอาจารย์และนักศึกษาจากหลากหลายประเทศ ทำให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิด และประสบการณ์ต่าง ๆ ได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เรายังมี Connection กับบริษัทชั้นนำหลายแห่ง ทำให้นักศึกษาได้ฝึกงานและเรียนรู้จากบริษัทชั้นนำ

ไม่ต้องเตรียมตัวมากมาย สบายใจกว่า

มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่มีกระบวนการรับสมัครที่ง่ายและรวดเร็วกว่า โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการสอบข้อเขียนหรือสัมภาษณ์ที่เข้มงวด และไม่ใช้ระบบ TCAS ซึ่งอาจสร้างความกดดันให้กับผู้สมัคร ทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ง่ายขึ้น และลดความเครียดในกระบวนการสมัครเรียน

ข้อกำหนดหรือระเบียบบังคับน้อย ทำให้มีอิสระมากกว่า

มหาวิทยาลัยเอกชนมักมีความยืดหยุ่นในเรื่องระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ มากกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ ทำให้นักศึกษามีอิสระในการใช้ชีวิตและการเรียนมากขึ้น เช่น การแต่งกาย การเข้าร่วมกิจกรรม หรือการเลือกวิชาเรียน ซึ่งช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาตนเองของนักศึกษา

ใช้ชีวิตที่แตกต่างได้อย่างลงตัว ไม่มีใครรู้สึกแปลกแยก

มหาวิทยาลัยเอกชนมักดึงดูดนักศึกษาที่มีความหลากหลายทางความคิดและไลฟ์สไตล์ ทำให้เกิดชุมชนที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่าง นักศึกษาสามารถแสดงออกถึงตัวตนและสไตล์ของตนเองได้อย่างอิสระ โดยไม่รู้สึกแปลกแยกหรือถูกตีกรอบ ซึ่งช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และการพัฒนาทักษะทางสังคม

3.การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยนิยมใช้คะแนนอะไรบ้าง

การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยนิยมใช้คะแนนอะไรบ้าง?

การสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในประเทศไทย มักต้องใช้ผลคะแนนสอบมาตรฐานสากลหลายประเภท ซึ่งแต่ละการสอบก็มีลักษณะเฉพาะและจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน มาดูกันว่ามีคะแนนสอบอะไรบ้างที่นิยมใช้ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์

IELTS (International English Language Testing System)

IELTS เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยจะวัดทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การฟัง (Listening), การอ่าน (Reading), การเขียน (Writing) และการพูด (Speaking) แต่ละส่วนมีคะแนนเต็ม 9.0 มหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยมักต้องการคะแนน IELTS โดยรวมไม่ต่ำกว่า 6.0-6.5 ซึ่ง IELTS มีสองรูปแบบคือ Academic Module สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ และ General Training Module สำหรับผู้ที่ต้องการทำงานหรือย้ายถิ่นฐาน

TOEFL (Test of English as a Foreign Language)

TOEFL เป็นอีกหนึ่งการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมไม่แพ้ IELTS โดยเฉพาะสำหรับหลักสูตรที่เน้นระบบอเมริกัน TOEFL แบ่งออกเป็น 4 ส่วนเช่นเดียวกับ IELTS คือ วัดทักษะด้านการฟัง (Listening), การอ่าน (Reading), การพูด (Speaking) และการเขียน (Writing)

ซึ่งการสอบ TOEFL จะมีสองรูปแบบหลักคือ TOEFL iBT (Internet-based Test) และ TOEFL ITP (Institutional Testing Program) โดยมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะยอมรับผลสอบ TOEFL iBT มากกว่า และมักต้องการคะแนนไม่ต่ำกว่า 79-80 จากคะแนนเต็ม 120

GSAT (General Scholastic Aptitude Test)

GSAT เป็นการสอบวัดความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ การสอบ GSAT ครอบคลุมเนื้อหาในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยข้อสอบจะเป็นรูปแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และมีทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 การอ่าน จำนวน 50 ข้อ เวลาในการสอบ 65 นาที
  • ส่วนที่ 2 การเขียนและภาษา จำนวน 40 ข้อ เวลาในการสอบ 35 นาที
  • ส่วนที่ 3 คณิตศาสตร์ไม่มีเครื่องคิดเลข จำนวน 20 ข้อ เวลาในการสอบ 25 นาที
  • ส่วนที่ 4 คณิตศาสตร์พร้อมเครื่องคิดเลข จำนวน 40 ข้อ เวลาในการสอบ 55 นาที
4.GED (General Educational Development)

GED (General Educational Development)

GED หรือ General Educational Development เป็นการทดสอบความรู้เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย การสอบ GED ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับมัธยมปลายตามระบบปกติ แต่ต้องการวุฒิการศึกษาเทียบเท่าเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาหรือเพื่อการทำงาน โดยการสอบ GED จะสอบเป็นภาษาอังกฤษสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 4 วิชา และเน้นความรู้พื้นฐาน การเชื่อมโยง ตรรกะ รวมถึงการคิดวิเคราะห์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. GED Reasoning Through Language Arts (RLA)

เป็นข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษที่ใช้เวลาสอบประมาณ 150 นาที เพื่อวัดทักษะด้านการอ่าน Grammar พื้นฐาน และการเขียนเรียงความ แบ่งออกเป็น 2 พาร์ท ได้แก่ 

  • Part 1 – Reading and Basic Grammar
  • Part 2 – เขียนเรียงความภาษาอังกฤษแบบ Argumentative 

2. GED Social Studies

เป็นข้อสอบวิชาสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ ใช้เวลาในการสอบประมาณ 70 นาที โดยจะเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในด้านสังคม รวมถึงประวัติศาสตร์ สำหรับเนื้อหาที่ออกสอบสามารถแบ่งได้ 4 หัวข้อ ดังนี้

  • ประวัติศาสตร์อเมริกา (U.S. History)
  • การเมืองการปกครอง (Civic and Government)
  • เศรษฐศาสตร์ (Economics)
  • ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์โลก (Geography and the World) 

3. GED Mathematical Reasoning

เป็นข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ใช้เวลาในการสอบประมาณ 115 นาที เน้นการเลือกใช้สูตรและการคิดเลข รวมถึงการแก้ปัญหาทางพีชคณิต โดยเนื้อหาที่ออกสอบสามารถแบ่งได้ 4 หัวข้อ ดังนี้

  • คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Basic Math )
  • เรขาคณิต (Geometry)
  • พีชคณิตพื้นฐาน (Basic Algebra)
  • กราฟและฟังก์ชัน (Graphs and function)

และสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 2 พาร์ท ได้แก่

  • Part 1 –  ไม่สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ แบ่งข้อสอบเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และการแก้ปัญหาเกี่ยวกับพีชคณิต 
  • Part 2 – อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขได้

4. GED Science

เป็นข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ใช้เวลาในการสอบประมาณ 90 นาที โดยเนื้อหาที่ออกสอบจะเกี่ยวข้องกับ Life Science, Physical Science และ Earth and Space Science สามารถแบ่งได้ 3 หัวข้อหลัก ๆ ดังนี้

  • การอ่านบทอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (Reading for meaning in Science)
  • การออกแบบและทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Designing and interpreting science experiments)
  • การอ่านตัวเลขและกราฟที่เกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์ (Using numbers and graphics in science)

SAT (Scholastic Aptitude Test)

SAT เป็นการสอบมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา และได้รับการยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จัดสอบโดยองค์กร College Board โดยจะเป็นการประเมินว่า นักศึกษามีทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนบรรยายที่ดี ที่ช่วยให้สามารถประสบความสำเร็จในการศึกษาได้หรือไม่  

ในส่วนของการนำคะแนนสอบ SAT ไปใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทย จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย/คณะ/สาขา บางคณะดูแค่คะแนน SAT MATH บางคณะดูเฉพาะ SAT Reading & Writing  หรือ บางคณะใช้คะแนนสอบทั้งสองส่วนเป็นเกณฑ์ ซึ่งข้อสอบ SAT จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • Evidenced – Based Reading & Writing ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 40 นาที (มีคะแนนเต็ม 800 คะแนน) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชุด คือ Reading มี 52 ข้อ และ Writing  and Language มี 44 ข้อ จาก 4 บทความ
  • Math ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที (มีคะแนนเต็ม 800 คะแนน) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชุด คือ Math Test – No Calculator (ไม่สามารถนำเครื่องคิดเลขเข้าไปใช้ได้) มีทั้งหมด 20 ข้อ และ Math Test – Calculator (สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้) มีทั้งหมด 38 ข้อ

A-Level (Advanced Level General Certificate of Secondary Education)

A-Level เป็นการสอบมาตรฐานของสหราชอาณาจักรที่ใช้ในการสมัครเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในประเทศไทยที่ใช้หลักสูตรอังกฤษมักจะยอมรับผลสอบ A-Level ในการพิจารณารับนักศึกษา โดยอาจกำหนดเกรดขั้นต่ำในแต่ละวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัคร

ซึ่งการสอบจะจัดสอบโดย Cambridge International Examinations (CIE) A-Level  มีรายวิชาประมาณ 55 วิชา โดยนักเรียนมักจะเลือกสอบ 3-4 วิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่ต้องการเรียนต่อ สามารถแบ่งได้ 5 กลุ่มวิชา ดังนี้

  • กลุ่มภาษา (Language)
  • กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities & Social Science)
  • กลุ่มวิทยาศาสตร์ (Science)
  • กลุ่มคณิตศาสตร์ (Mathematics)
  • กลุ่มทักษะวิชาชีพ (Creative, Technical and Vocational)
5. ทำความรู้จัก มหาวิทยาลัยอินเตอร์ Stamford International University

อยากสมัครเรียนที่แสตมฟอร์ดต้องเตรียมตัวยังไง?

สำหรับนักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ในระดับปริญญาตรี สามารถสมัครได้ผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้

  • สมัครออนไลน์ที่ https://www.stamford.edu/th/admissions/bachelors-degree/ 
  • สมัครด้วยตัวเอง โดยขอรับใบสมัครได้ที่ฝ่ายรับสมัครมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หรือนักศึกษาสามารถกรอกใบสมัคร online แล้วนำมายื่นประกอบได้

คุณสมบัติของผู้สมัคร

หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรภาษาไทย ในระดับปริญญาตรี

  • สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรองวิทยฐานะ และมีใบรายงานผลการศึกษาฉบับจริง
  • ผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษานี้ สามารถสมัครสอบได้ โดยขอหนังสือรับรองวุฒิล่วงหน้ามายื่น

หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรสองภาษา ในระดับปริญญาตรี

  • ผ่านการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หรือ มีผลคะแนนทดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ (TOEFL หรือ IELTS) ผ่านคะแนนขั้นต่ำตามที่กำหนด
  • นักเรียนที่ไม่ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษตามที่กำหนดจะต้องเรียนหลักสูตร Stamford English Program ก่อนเริ่มเรียนปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรสองภาษา

หลักฐานประกอบการสมัคร

  • ใบสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยและค่าธรรมเนียมการสมัคร
  • สำเนาใบแสดงผลการเรียนและระบุวันจบการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาใบประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปพ.2) จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถสมัครเรียนได้ตลอดเวลา และสามารถเลือกเทอมที่สะดวกเข้าเรียนได้อย่างยืดหยุ่น เมื่อสมัครเรียนเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเตรียมตัวเพื่อรอปฐมนิเทศร่วมกัน และเริ่มเรียนได้ทันที โดยสามารถสมัครได้ในทุกภาคการศึกษา ดังนี้

  • ภาคการศึกษาที่ 1 : เดือนกรกฎาคม
  • ภาคการศึกษาที่ 2 : เดือนพฤศจิกายน
  • ภาคการศึกษาที่ 3 : เดือนมีนาคม
7.สรุปบทความ

สรุปบทความ

การเรียนในมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในประเทศไทย เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการประสบการณ์การศึกษาแบบนานาชาติ โดยไม่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยอินเตอร์ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในด้านค่าใช้จ่าย ความพร้อมด้านภาษา และเป้าหมายในอาชีพ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเอง

ซึ่ง Stamford International University ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยหลักสูตรที่ทันสมัย เน้นการปฏิบัติจริง และความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ทำให้นักศึกษาได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างดีสำหรับการทำงานในอนาคต นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรและสาขาให้เลือกเรียนตามความต้องการได้อย่างหลากหลาย สำหรับผู้ปกครองและนักศึกษาที่มีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทางเหล่านี้

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

You may use these HTML tags and attributes:

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>