Stamford Designer's week

ล้วงเทคนิคพิชิตฝัน สู่สุดยอดนักออกแบบ จากรุ่นพี่ CMD แสตมฟอร์ด

คุณากร นงนุช : นักศึกษา สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ – Creative Media Design

“ความคิดที่แตกต่าง นำมาสู่ผลงานที่สร้างสรรค์” แน่นอนว่านี่คือสิ่งที่สำคัญ เพราะในปัจจุบันสายอาชีพนักออกแบบมีการแข่งขันกันสูง โอกาสที่จะเป็นนักออกแบบที่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการก็ย่อมยากตาม การที่จะเป็นนักออกแบบที่ดีและประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่มันจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นอยู่ที่ตัวของเราเอง การเป็นนักออกแบบที่ดีจะต้องมีความสามารถ และมีลักษณะนิสัยที่ช่วยให้การออกแบบมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

ประสบการณ์จริงจากรุ่นพี่ สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์
ผมจบสายศิลป์-คำนวณ จากโรงเรียนไทยคริสเตียน เหตุผลที่เลือกเรียนต่อสาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดคือ ที่นี่มันตอบโจทย์สำหรับเรา ตอนนี้เราอยู่ในยุคดิจิทัล และที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด สอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อมัลติมีเดีย การผลิตวิดีโอ และงานสามมิติ เรียกได้ว่าครอบคลุมทุกสื่อ นอกจากนี้ยังสอนทั้ง Web Design และ Media Design เพื่อนำไปใช้ในการต่อยอดผลงานเราอีกด้วย ก็เลยทำให้ตัดสินใจมาเรียนที่นี่ ทำเรื่องขอทุนแล้วก็ได้ทุนที่นี่ด้วย

มากกว่า 1 ปริญญา 1 ประกาศนียบัตร คือ โอกาสที่ได้รับ
หลักสูตรการเรียนของที่นี่มีทั้งหลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรสองภาษา ส่วนตัวพี่เรียนหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งหลักสูตรนี้ออกแบบหลักสูตร และสอนโดยความร่วมมือกับ Media Design School (MDS) สถาบันออกแบบที่ได้รับรางวัลด้านเทคโนโลยีดิจิตอล และความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดในประเทศนิวซีแลนด์ ดังนั้นเมื่อเรียนจบเราจะได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และรับประกาศนียบัตรจาก Media Design School (MDS) ในประเทศนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสร่วมทำโครงงานกับ MDS ประเทศนิวซีแลนด์ การทำ Workshop การเยี่ยมชม และฝึกงานกับบริษัทชั้นนำในประเทศไทย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรอีกด้วย

การันตีได้รับมากกว่าความรู้ในห้องเรียน 
ผมคิดว่าอาจารย์ที่นี่ให้คำปรึกษาได้ดี อาจารย์คอยผลักดันเวลามีงานประกวดอาจารย์ก็จะให้ลงประกวดดู แล้วถ้าเกิดมีข้อสงสัยอะไรก็ถามอาจารย์ได้ และที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดจะมีชาวต่างชาติเยอะด้วยก็จะทำให้เราได้ทั้งภาษา การสื่อสาร แล้วก็กลุ่มเพื่อน ๆ ชาวต่างชาติ รวมทั้งมีอุปกรณ์ที่พร้อมรองรับการทำงานด้วย ส่วนวิชาที่ชอบคือ Motion Graphic มันเหมือนภาพนิ่งขยับได้ มีพวกโปรแกรม illustrator เข้ามาใช้ มันทำให้งานเรามีความน่าสนใจมากขึ้น

การแข่งขันหนึ่งที่ผมภูมิใจคือ ผมได้เป็นหนึ่งใน 6 ผู้ชนะของการประกวดออกแบบฉลากขวดโซดาสิงห์ภายใต้โครงการ SODA SINGHA THE NEW MIX LIMITED EDITION “แตกฟองไอเดียระบายความซ่า”กับผลงาน “ปากต่อปาก” โดยแนวความคิดในการออกแบบ โซดาสิงห์ คือ เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน เป็นส่วนหนึ่งในความสุขสนุกสนานของทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นงานปาร์ตี้ งานแต่งงาน งานวันเกิด และในหลาย ๆ โอกาส นี่คือแนวคิดในการออกแบบ ความซ่าของเราจึงถูกบอก “ปากต่อปาก” ด้วยสไตล์ศิลปะป๊อปอาร์ต ที่สนุกสนานซาบซ่า เต็มไปด้วยสีสัน โดยได้รับรางวัล และผลงานการออกแบบได้นำไปใช้ในการผลิตจริงเป็นฉลากบนขวด SODA SINGHA THE NEW MIX LIMITED EDITION ที่วางขายไปทั่วประเทศ

แชร์ประสบการณ์หาแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ผมเชื่อว่าทุก ๆ หนึ่งชั่วโมงเราใช้โทรศัพท์มากกว่า 1 ครั้งแน่นอน ผมอยากบอกว่าการหาแรงบันดาลใจในการออกแบบอยู่รอบตัวเรา ผมเองก็หาแรงบันดาลใจจากเล่นเฟซบุ๊ก แล้วก็ไปดูผลงานศิลปะต่างๆ ตามนิทรรศการพวกที่เกี่ยวกับศิลปะ แล้วก็จะเก็บสะสมมาไว้เป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน

ฝากถึงน้อง ๆ ที่อยากศึกษาต่อ สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์
สำหรับน้องที่อยากมาเรียน ต้องเป็นคนที่ชอบการออกแบบจริงๆ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมากก็ได้ เพราะที่นี่ก็จะค่อยๆ ปูพื้นฐานให้เราอยู่แล้ว แต่ว่าคนที่มาเรียนสายงานนี้ก็ต้องให้ความสนใจกับการใช้คอมพิวเตอร์เพราะว่างานส่วนใหญ่ต้องทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้อยากให้น้องๆ รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ถนัดอะไร แล้วก็มุ่งไปที่สายนั้น เพราะเมื่อเวลาเราทำงานเราจะได้มีความสุขกับมัน เราจะได้ไม่ต้องฝืนทำมัน  ทำตามที่ใจชอบดีกว่า เพราะบางคนอาจจะเลือกไปในสายที่ไม่ชอบ สุดท้ายก็ต้องย้อนกลับมามันทำให้เราเสียเวลาเพื่อเริ่มค้นหาตัวตนใหม่

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

You may use these HTML tags and attributes:

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>