สมัครเรียน ปริญญาตรี

ปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ทั้งแบบนานาชาติและสองภาษา ที่ครอบคลุมทั้งด้านการบริหารธุรกิจ เทคโนโลยี นิเทศศาสตร์ และการออกแบบ

เริ่มเรียน มีนาคม กรกฎาคม และพฤศจิกายน

คุณสมบัติในการสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรภาษาไทย

  • สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรองวิทยฐานะ และมีใบรายงานผลการศึกษาฉบับจริง
  • ผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษานี้ สามารถสมัครสอบได้ โดยขอหนังสือรับรองวุฒิล่วงหน้ามายื่น

การสอบเข้ามหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด สำหรับหลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรสองภาษา

  1. ผ่านการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หรือ มีผลคะแนนทดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ (TOEFL หรือ IELTS) ผ่านคะแนนขั้นต่ำตามที่กำหนด
    นักเรียนที่ไม่ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษตามที่กำหนดจะต้องเรียนหลักสูตร Stamford English Program ก่อนเริ่มเรียนปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรสองภาษา
  2. ผ่านการทดสอบทั่วไปของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ทุกภาคการศึกษา

  • ภาคการศึกษาที่ 1 : เดือนกรกฎาคม
  • ภาคการศึกษาที่ 2 : เดือนพฤศจิกายน
  • ภาคการศึกษาที่ 3 : เดือนมีนาคม

วิธีการสมัคร

  • สมัครออนไลน์ได้ ที่นี่
  • สมัครด้วยตัวเอง โดยขอรับใบสมัครได้ที่ฝ่ายรับสมัครมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หรือนักศึกษาสามารถกรอกใบสมัคร online แล้วนำมายื่นประกอบได้

หรือติดต่อฝ่ายรับสมัครนักศึกษาได้ที่ 02-769-4056

  1. ใบสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยและค่าธรรมเนียมการสมัคร
  2. สำเนาใบแสดงผลการเรียนและระบุวันจบการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 ฉบับ
  3. สำเนาใบประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 ฉบับ
  4. สำเนาบัตรประชาชน
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอโอนหน่วยกิต

  • เป็นผู้มีความประพฤติดี
  • เป็นหรือเคยเป็นนักศึกษาในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาซึ่ง สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  • ไม่เป็นผู้ถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากมหาวิทยลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาใดมาก่อน เนื่องจากถูกลงโทษทางวินัย

การเทียบรายวิชาให้ใช้เกณฑ์และข้อปฏิบัติดังนี้

  • เป็นรายวิชาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ความเห็นชอบแล้วและสำนักงาน ก.พ. รับรองคุณวุฒิแล้ว หรือหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเทียบวุฒิให้
  • เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาวิชาที่เทียบเคียงกันได้หรือมีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาที่ขอเทียบ
  • เป็นรายวิชาหมวดศึกษาทั่วไป และหมวดวิชาเลือกที่สอบไล่ได้สัญลักษณ์ไม่ต่ำกว่า C หรือค่าระดับ 2.00 ในแต่ละรายวิชา
  • เป็นรายวิชาในหมวดวิชาเอก ที่สอบไล่ได้สัญลักษณ์ไม่ต่ำกว่า B หรือค่าระดับ 3.00 หรือเทียบเท่า
  • เป็นรายวิชาที่ได้ศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี นับถึงวันที่ขอเทียบรายวิชา

ข้อปฏิบัติอื่นๆ

ข้อ 1 รายละเอียดการโอนหน่วยกิต และการเทียบรายวิชาให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ 2 นักศึกษาเทียบโอนหน่วยกิตไม่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยม
ข้อ 3 นักศึกษาที่ขอเทียบโอนหน่วยกิตจะต้องศึกษาในสถาบันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ภาค
*การศึกษาปกติแต่ต้องไม่เกิน 2 เท่าของกำหนดเวลาที่ต้องศึกษา เพื่อให้ได้จำนวนหน่วยกิตที่เหลือจึงจะมีสิทธิขอสำเร็จการศึกษาได้
ข้อ 4 การแสดงผลการศึกษาและค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม (Cumulative Grade Point Average – CUM-GPA) เพื่อสำเร็จการศึกษาให้กระทำดังนี

  • มหาวิทยาลัยจะแยกวิชาที่เทียบวิชาและโอนหน่วยกิตไว้ต่างหากจากวิชาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้จะระบุสถาบันการศึกษาเดิมไว้ด้วย
  • มหาวิทยาลัย จะแสดงค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมเฉพาะผลการศึกษาใหม่ที่ได้ ศึกษาในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ยกเว้นในกรณีผู้ขอเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิต

*เคยเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ในกรณีนี้มหาวิทยาลัยจะนำคะแนนวิชาที่เทียบโอนหน่วยกิตมาคิดค่าระดับเฉลี่ยสะสมด้วย

  • ใบแสดงรายงานผลการศึกษา คำอธิบายรายวิชาที่นำมาขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิต
  • ค่าสมัคร และ ค่าธรรมเนียมการโอน
  • เอกสารจากทางมหาวิทยาลัยที่ผู้สมัครโอนหน่วยกิต
  • รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
  • หมายเลขบัตรประชาชน (สัญชาติไทย) หรือหนังสือเดินทาง
  • ทะเบียนบ้าน

รับข้อมูลเพิ่มเติม