stamford_student

¼ เศษหนึ่งส่วนสี่ : เรื่องราวและแรงบันดาลใจของนักศึกษาแสตมฟอร์ดสู่ผลงานระดับรางวัล

กฤตพัส เจริญรดาสกุล : นักศึกษา สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ – Creative Media Design

ภูมิพิพัฒน์ ด้วงเงิน : นักศึกษา สาขาสาขาวารสารศาสตร์และการกระจายเสียง – Broadcast and Journalism

Poompipat Doung-ngern

 

บทสัมภาษณ์ 2 รุ่นพี่แสตมฟอร์ดจากสาขานิเทศศาสตร์และสาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ ถึงเรื่องราวและแรงบันดาลใจของหนังสั้น “¼ เศษหนึ่งส่วนสี่” ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีมนักศึกษาไทย จากการแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย ในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ครั้งที่ 6 Thailand International Film Destination Festival 2018 : TIFDF2018 จัดโดยกรมการท่องเที่ยว

จุดเริ่มต้นของการเข้าร่วม Thailand International Film Destination Festival 2018

ภูมิพิพัฒน์: เราเห็นจากโปสเตอร์ที่บอร์ดหน้าห้อง CommArts เลยสนใจอยากลองสมัคร

กฤตพัส: เราเจอกันที่ห้อง CommArts แบงค์เลยมาชวนผมให้มารวมทีมกัน

ภูมิพิพัฒน์: เราก็ส่งใบสมัครพร้อมคลิปแนะนำตัวเข้าไป แล้วทางผู้จัดงานจะคัดจากคลิปแนะนำนำตัวเหลือ 36 ทีม และคัดอีกในรอบสัมภาษณ์ให้เหลือ 15 ทีม เพื่อไปเข้าค่ายทำกิจกรรม

Krittapat Charoenradasakul

เข้าค่ายพบรุ่นพี่

กฤตพัส: เป็นการเข้าค่าย 2 วัน เค้าก็จะมีกิจกรรมให้ทำหลายอย่าง เช่น การแนะนำโครงการ ผลงานของปีที่ผ่านมา และแนวทางในการทำวีดีโอ

ภูมิพิพัฒน์: มีกิจกรรมให้ทำหลายอย่างรวมถึงกิจกรรมละลายพฤติกรรมด้วย

กฤตพัส: และเราได้ฟังรุ่นพี่ที่เคยได้รับรางวัลที่หนึ่งมาแชร์ประสบการณ์ด้วย

โจทย์ เศรษฐกิจพอเพียง

กฤตพัส: โจทย์ของปีนี้คือ เศรษฐกิจพอเพียง โดยเราจะต้องสร้างหนังสั้นความยาว 5-7 นาที มีระยะเวลาในการถ่ายหนังสั้นนี้เพียง 3 วันเท่านั้น

ภูมิพิพัฒน์: ทางผู้จัดจะให้แต่ละทีมเลือกสถานที่ถ่ายทำตั้งแต่ตอนสมัครเลย ซึ่งถ้าเลือกแล้วก็จะต้องถ่ายเฉพาะในจังหวัดที่เลือกเท่านั้น ซึ่งทางผู้จัดก็อำนวยความสะดวกในการมีรถตู้ให้ในการเดินทาง ทั้ง 3 วันเลย

กฤตพัส: สำหรับสถานที่ของทีมเราก็จะมี สวนหลวง ร.9 สยามสแควร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และสำนักงานเขตหลักสี่

Stamford_student

แรงบันดาลใจ

กฤตพัส: เราตีโจทย์จากคนวัยทำงานในเมืองในยุคปัจจุบัน และดึงประสบการณ์การทำงานของตัวเองออกมาใช้ รวมถึงเอาการออกแบบมาผสมผสานการทำเศรษฐกิจพอเพียง โดยเราตั้งใจไม่สื่อถึงเศรษฐกิจพอเพียงนอกเมืองตามที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ที่แบบต้องเป็นทุ่งนาทุ่งไร่  แต่เราพยายามเล่าถึงอะไรที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น

ภูมิพิพัฒน์: และพวกเราได้นำพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาเป็นแรงบันดาลใจในครั้งด้วย คือ เศรษฐกิจพอเพียง จริงๆ เราไม่ต้องทำทั้งหมด ทำแค่ ¼ ของชีวิตก็พอแล้ว

การวางแผนและเตรียมตัว

ภูมิพิพัฒน์: ทางผู้จัดให้โจทย์มาแค่ว่าเป็นหัวข้อเศรษฐกิจพอเพียงและทำเป็นหนังสั้น เราเลยหาข้อมูลกันเยอะมาก เพื่อตีโจทย์ หาไอเดีย ว่าจะเดินเรื่องอย่างไรให้น่าสนใจ แล้วก็ทำบท และ story board

กฤตพัส: เราได้อาจารย์ต้น (อาจารย์อนุชา เตชะมงคลกุล) เป็นที่ปรึกษาด้วย รวมถึงได้ไอเดียต่างๆ กับเพื่อนๆ รุ่นพี่ที่รู้จัก มาช่วยกัน

ภูมิพิพัฒน์: ผมมองว่าแค่เราสองคนมันไม่มีทางทำเสร็จได้เลย ผลงานนี้จึงเป็นผลงานของทุกคนที่ช่วยมันให้สำเร็จขึ้นมา

ความคาดหวังและรางวัลที่ได้รับ

ภูมิพิพัฒน์: พอส่งหนังสั้นเสร็จ ทุกคนก็ได้เข้าร่วม workshop ที่กันตนา และได้ดูผลงานของเพื่อนๆ ทีมอื่น และตามด้วยงานประกาศรางวัล

กฤตพัส: พวกเราก็คาดหวังนะครับ เป็นธรรมดา เราก็ได้ดูผลงานของทีมอื่นๆ ด้วย ซึ่งหนังของผู้เข้าแข่งขันคนอื่นก็ดี ผมชื่นชมอยู่หลายงานเลย

ภูมิพิพัฒน์: ตอนนั้นเราลุ้นพอสมควร เพราะเค้าไม่ได้คัดออกเลยทั้ง 15 ทีม ทุกคนมีโอกาสทั้งหมด แต่พอรู้ว่าได้รับรางวัลรองอันดับ 2 ประเภททีมนักศึกษาไทย เลยถามพี่ๆ ในค่าย เค้าบอกว่าไอเดียของเรามันต่างไปจากคนอื่น เป็นไอเดียที่ใหม่ และออกนอกกรอบเดิมๆ ที่เคยเห็นมา

กฤตพัส: ผมคิดว่า เพราะพวกเราได้นำพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาตีโจทย์ในมุมมองที่ต่างออกไป ทำให้ผลงานของเรามีความแตกต่างจากงานอื่นๆ

stamford_student

ประสบการณ์และความรู้ในห้องเรียนที่นำมาใช้ได้จริง

ภูมิพิพัฒน์: จริงๆ ผมได้ใช้ทุกส่วนเลย เพราะผมเรียนสาขาวารสารศาสตร์และการกระจายเสียงมา 3 ปีแล้ว ผ่านการฝึกฝนมาพอสมควร เราต้องทำตั้งแต่ Pre-Production ไปถึง Post-Production ซึ่งตอนนี้ผมคิดว่าเราต้องหาประสบการณ์นอกห้องเรียนบ้าง ลองทำงานที่ไม่ใช่งานของอาจารย์บ้าง

กฤตพัส: ส่วนตัวผมชอบในการทำหนังอยู่แล้ว เลยได้เอาประสบการณ์การทำงานที่ผ่านๆ มารวมกับเนื้อเรื่อง รวมถึงเอาไอเดียมาใส่เพื่อเพิ่มลูกเล่นในหนังสั้นให้มากขึ้น

ถึงเพื่อนๆ ที่อยากลองเข้าประกวด

ภูมิพิพัฒน์: อย่าไปกลัวที่จะลอง เราต้องเตรียมความพร้อม ทำการบ้าน แนวทางการแข่งขันเป็นยังไง ส่วนตัวผมคิดว่าผลงานแล้วไม่เกี่ยวกับอุปกรณ์ว่าใครดีกว่าแล้วจะชนะ แต่มันขึ้นอยู่กับไอเดียและขึ้นอยู่กับกรรมการของแต่ละการแข่งขันด้วย

กฤตพัส: ลองทำดูครับ สมมติถ้าเราไม่เก่งด้านไหน ลองหาเพื่อนมาเสริมมารวมกัน  ซึ่งจะช่วยให้เราดีขึ้นไปกันทั้งคู่

————————————————————————————————————————————-

ผลงาน เศษหนึ่งส่วนสี่ 1/4

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

You may use these HTML tags and attributes:

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>